มทร.อีสาน ใช้แพลตฟอร์มงานวิจัยท่องเที่ยวเมืองรอง ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก วช.หนุนเสริมงานแสดงช้าง จังหวัดสุรินทร์ ดร.อนิวรรต หาสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นำแพลตฟอร์มพี่ช้าง-น้องชบาร่วมจัดแสดงหนุนเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ณ ปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ในงานสืบสานตำนานพันปี หรืองานแสดง แสง สี เสียง ณ บริเวณองค์ปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศรีขรภูมิ
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในกิจกรรมงาน “มหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ประจำปี 2565” ของจังหวัดสุรินทร์ โดยมี นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดการแสดงแสง สี เสียง ร่วมกับ นายอนุชา วัชรศีขร นายกเทศมนตรีประจำอำเภอศีขรภูมิ และ นายกิตติ สัตย์ซื่อ นายอำเภอศีขรภูมิ แพลตฟอร์มพี่ช้าง-น้องชบา เป็นผลงานวิจัยโครงการการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
โดยมี ดร.อนิวรรต หาสุข เป็นหัวหน้าโครงการ ภายใต้แผนงาน “การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของ จังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง” เครือข่าย 9 มทร. แผนงานดังกล่าวอยู่ภายใต้การสนับสนุนของสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีที่ 3 ต่อเนื่องจาก แพลตฟอร์มน้องชบา ซึ่งเป็นผลงานวิจัยจากโครงการวิจัยการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยระบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาอำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยมี ดร.เอกชัย แซ่จึง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นหัวหน้าโครงการ และเป็นโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัย “การพัฒนาจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี”
ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมปีที่ 2 ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ทั้งนี้น้องชบาดำเนินงานร่วมกับฐานข้อมูลพี่ช้าง ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานวิจัยในปีที่ 1 มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงกล จันทร์เรือง เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ปัจจุบันปีที่ 3 โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ดร.อนิวรรต หาสุข หัวหน้าโครงการวิจัย ร่วมกับทีมงานวิจัยมีการออกแบบและดำเนินการพัฒนายกระดับการทำงานของแพลตฟอร์มพี่ช้าง-น้องชบาให้อยู่ในรูปแบบของโมบายแอพพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนสามารถรองรับการทำงานผ่านระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ (Android) และไอโอเอส (IOS)