สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้ดำเนินการจัดงานติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้ทุน Flagship ประจำปีงบประมาณ 2563 กรอบ “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ระยะ 12 เดือน ระหว่างวันอังคารที่ 27 – วันพุธที่ 28 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบ ZOOM MEETING ณ ห้องประชุมนวัตกรรมอีสาน สถาบันวิจัยและพัฒนา อาคาร 8 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ในงานดังกล่าวได้รับเกียรติจากท่านรองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต กฤตาคม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พัฒนานวัตกรรม และบริการวิชาการ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ให้ดำเนินชุดโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืนโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปใช้ในการพัฒนาและยกระดับชุมชนในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ ให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสามารถพี่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โครงการดังกล่าวประกอบด้วยโครงการย่อยจำนวน 40 โครงการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาหาร กลุ่มหัตถกรรม กลุ่มสมุนไพร กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มเกษตร และกลุ่มเครื่องใช้ และในวันอังคารที่ 27 กรกฎาคม 2564 นี้ เป็นการรายงานผลการดำเนินงานของโครงการย่อยจำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มอาหาร ประกอบด้วยโครงการย่อย จำนวน 16 โครงการ ได้แก่
1.โครงการการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์พริกปลอดภัยขามสะแกแสง โดยมี ดร.จันทร์เพ็ญ ประกำแหง เป็นหัวหน้าโครงการ
2.โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาร้าบองสมุนไพรให้เป็นสินค้าอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านดอนเปล้า อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา โดยมี ดร.อารยา รานอก เป็นหัวหน้าโครงการ
3.โครงการการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์และยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์จากเห็ด : กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ด บ้านยางน้อย ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยมี อาจารย์พรสวัสดิ์ สิงห์ยาม เป็นหัวหน้าโครงการ
4.โครงการการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์และยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำพริกแปรรูป : กรณีศึกษา กลุ่มสตรีแม่บ้าน บ้านลำเชิงไกร 9 ตำบลโคกสูง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยมี ผศ.ดร.ธนาภิญญ์ อัตตฤทธิ์ เป็นหัวหน้าโครงการ
5.โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์พริกแกงกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปพริกบ้านหนองบง เพื่อเพิ่มศักยภาพการจำหน่าย โดยมี ดร.ปิยะมาศ จานนอก เป็นหัวหน้าโครงการ
6.โครงการนวัตกรรมเครื่องอบแห้งผลไม้กวนประหยัดพลังงาน โดยมี อาจารย์ฉัตรแก้ว สุริยะภา เป็นหัวหน้าโครงการ
7.โครงการเครื่องตีปลาเส้นเดี่ยว โดยมี อาจารย์พิจิตร บัวระภา เป็นหัวหน้าโครงการ
8.โครงการการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวสู่การใช้ประโยชน์อื่นๆ เพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมี อาจารย์วรรณวิภา พินธะ เป็นหัวหน้าโครงการ
9.โครงการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากหมากเม่ากุดบาก โดยมี รศ.ดร.พรประภา ชุนถนอม เป็นหัวหน้าโครงการ
10.โครงการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากหมากเม่าภูพาน โดยมี ผศ.กรรณิการ์ สมบุญ เป็นหัวหน้าโครงการ
11.โครงการนวัตกรรมกระบวนการการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการส่งเสริมด้านการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าวไทย โดยมี อาจารย์อนุชาวดี ไชยทองศรี เป็นหัวหน้าโครงการ
12.โครงการนวัตกรรมและโครงการถ่ายทอดนวัตกรรมเครื่องบดปลาเพื่อผลิตอาหารสัตว์ โดยมี อาจารย์คุณานนต์ ศักดิ์กำปัง เป็นหัวหน้าโครงการ
13.โครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสร้างคุณค่าและศักยภาพของผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ขนมนางเล็ดบ้านจะแกโกน ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยมี ผศ.ประทีป ตุ้มทอง เป็นหัวหน้าโครงการ
14.โครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อสร้างคุณค่าและศักยภาพของผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ขนมนางเล็ด ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยมี อาจารย์วันทนา ศุขมณี เป็นหัวหน้าโครงการ
15.โครงการการแปรรูปสินค้าผลิตภัณฑ์ปลาบ้านอนันต์ อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยมี ผศ.สันติ ครองยุทธ เป็นหัวหน้าโครงการ
16.โครงการนวัตกรรมเครื่องบดเศษเหลือก้างปลาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากปลา โดยมี ดร.ประสิทธิ์ วิชัย เป็นหัวหน้าโครงการ
กลุ่มหัตถกรรม ประกอบด้วยโครงการย่อย จำนวน 2 โครงการ ดังนี้
1.โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเตาเผาด้วยแก๊สขนาดเล็กสำหรับผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาในครัวเรือน โดยมี ผศ.เด่น รักซ้อน เป็นหัวหน้าโครงการ
2.โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาเนื้อดินด่านเกวียนเพื่อการหล่อด้วยแม่พิมพ์ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของที่ระลึก โดยมี ผศ.วัชรินทร์ แซ่เตีย เป็นหัวหน้าโครงการ
กลุ่มสมุนไพร ประกอบด้วยโครงการย่อย จำนวน 5 โครงการ ดังนี้
1.โครงการนวัตกรรมชุมชนชุดอบตัวแบบสุ่มไก่ลูกประคบสมุนไพร โดยมี ผศ.วรุณทิพย์ ฉัตรจุฑามณี เป็นหัวหน้าโครงการ
2.โครงการนวัตกรรมเครื่องสับ บด สมุนไพร ทั้งเปียกและอบแห้ง โดยมี ผศ.กรรณิกา บุตรอุดม เป็นหัวหน้าโครงการ
3.โครงการนวัตกรรมเครื่องย่อยสมุนไพรย่อส่วน และเทคโนโลยีการตีแผ่นยางพาราทดแทนการใช้ผ้า โดยมี ดร.พันธกานต์ แก้วอาษา เป็นหัวหน้าโครงการ
4.โครงการการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพร ชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี อาจารย์จันทร์นภา บัวหอม เป็นหัวหน้าโครงการ
5.โครงการการพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรแบบครบวงจร บ้านนาตัง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยมี ดร.ขัตติยา มูลไชยสุข เป็นหัวหน้าโครงการ
กลุ่มท่องเที่ยว ประกอบด้วยโครงการย่อย จำนวน 1 โครงการ ดังนี้
1.โครงการการบริการชุมชนด้านนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมี ดาวิกา ธนกฤติธีรกุล เป็นหัวหน้าโครงการ
จากการรายงานผลการดำเนินงาน พบว่าแต่ละโครงการได้ดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ และในการรายงานผลการดำเนินงานครั้งนี้นักวิจัยยังได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากคณะกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการวิจัย สำหรับนำไปปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนในรายงานวิจัยให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น